วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555


ครั้งที่ 19

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2555


อาจารย์ได้สรุปเนื้อหาการเรียนทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555


ครั้งที่ 18


วันศุกร์ที่ 21 กันยายน  2555



        อาจารย์พูดถึงเรื่อง blogger และตรวจงานของแต่ละคนว่าทำไปถึงไหนแล้ว ต้องแก้ไขหรือเพิ่มเติมอะไรบ้าง  พร้อมให้ส่งงานทุกอย่าง  
 

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555


ครั้งที่ 17

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2555




 อาจารย์ให้กลุ่มที่เหลือออกมาร้องเพลงต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  และเล่านิทาน
กลุ่มของดิฉันแต่งเพลง ตา หู จมูก

เพลง ตา หู จมูก

ดวงตาฉันอยู่ที่ไหน          รู้ไมช่วยบอกฉันที

ดวงตาฉันอยู่ที่นี่           ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง

ใบหูฉันอยู่ที่ไหน                รู้ไหมช่วยบอกฉันที

ใบหูฉันอยู่ที่นี่               ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง

จมูกฉัันอยู่ที่ไหน                รู้ไหมช่วยบอกฉันที

จมูกฉันอยู่ที่นี่                        ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง  (ซ้ำ)


เหตุผลที่แต่งเพลงนี้ เพื่อให้เด็กรู้จักอวัยวะต่างๆของตนเองโดยผ่านเพลง

ส่วนนิทานกลุ่มของดิฉันได้แต่งเรื่อง เจ้าหมีกับผึ้งน้อย (เล่าไปตัดไป)

เรื่องย่อ

 มีหมีตัวหนึ่งมันได้หลงใหลในความงามของดอกไม้มาก ทุกๆเช้ามัน

จะชอบออกมาดูดอกไม้ของมันพร้อมกับคอยรดน้ำพรวนดิน วันหนึ่งมี

ผึ้งน้อยตัวหนึ่งได้หลงบินเข้ามาในสวนของเจ้าหมี เจ้าหมีเห็นผึ้งน้อย

บินอยู่ในสวนของตนมันรู้สึกโกรธมากมันจึงใช้มืออันใหญ่จับผึ้งน้อย

เอาไว้ ผึ้งน้องตกใจและกลัวเจ้าหมีเป็นอย่างมากมันได้แต่อ้อนวอนเจ้า

หมีให้ปล่อยตนกลับไปหาครอบครัว เพราะตนได้ผลัดหลงจาก

ครอบครัวมา เจ้าหมีได้ฟังเช่นนั้นมันก็รู้สึกสงสารผึ้งน้อยเป็นอย่างมาก

 เจ้าหมีจึงยอมปล่อยผึ้งน้อยให้กลับไปหาครอบครัวพร้อมกลับให้น้ำ

หวานจากดอกไม้ของตน

และกลุ่มของดิฉันก็ได้ตัดกระดาษกลายเป็นรูปดอกไม้


ข้อคิด จากนิทานเรื่องนี้ เด็กๆควรรู้จักมีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือ รู้จักเห็นใจ

ผู้อื่น















ครั้งที่ 16


วันอาทิตย์ 9 กันยายน 2555


 ดิ
ฉันได้เข้าสัมมนาการศึกษาปฐมวัย เรื่อง นิทานการเสริมสร้าง

จินตนาการการเรียนรู้ ณ ห้องประชุม 2 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาครู คณะ

ศึกษาศาสตร์


 วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวสำหรับเด็ก

     เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้แล้ว วิธี


การเล่านิทานหรือเรื่องราว เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อ

เรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่จเล่าด้วย การเล่า

นิทานที่นิยมมี 2 วิธี ดังนี้

     1. การเล่าเรื่องปากเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ : เป็นการเล่านิทานด้วยการ


บอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

• การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยเริ่มเล่า


ด้วยเสียงชัดเจน ลีลาของการเล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่า

ด้วยจังหวะปกติ

• เสียงที่ใช้ควรดัง และเป็นประโยคสั้นๆได้ใจความ การเล่าดำเนินไป


อย่างราบรื่น ไม่ควรเว้นจังหวะการเล่านิทานให้นาน จะทำให้เด็กเบื่อ 

อีกทั้งไม่ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่นๆที่เป็นการขัดจังหวะ ทำให้เด็ก

หมดสนุก

• การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัว


ละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อยๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น

• อุ้มเด็กวางบนตัก โอบกอดเด็กขณะเล่า หรือถ้าเล่าให้เด็กหลายคน


ฟัง อาจจะนั่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก

• ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วง


เวลาสั้น

• ให้โอกาสเด็กซักถาม แสดงความคิดเห็น


    2. การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเช่น 


สัตว์ พืช , วัสดุเหลือใช้เช่น กล่องกระดาษ กิ่งไม้,ภาพ เช่นภาพพลิก 

หรือภาพแผ่นเดียว ,หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ, หน้ากากทำเป็นรูป

ละคร ,นิ้วมือประกอบการเล่าเรื่อง
        
 หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัยดิ



 • เหมาะสมกับวัย : เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ 

แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ 

นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุด

ภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่

เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับ

ธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิด


• ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ : การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่

เด็กจะได้รับ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น

 สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออก

พัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขัน

ให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเอง

กับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาทั้งเล่มก่อนตัดสินใจ

เลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ         

 • เนื้อหาและลักษณะรูปเล่ม : นิทานหรือหนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัย

ควรเป็นเรื่องสั้นๆง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเนื่องจุดเดียว เด็ก

ดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้ และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน 

ชวนติดตาม เป็นเรื่องที่เกี่นวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็ก หรือ

ธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ควรมีลักษณะเป็นบท

สนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจ

ของเด็ก ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่

สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหญ่

จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน

 ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และ

มีจำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า


 ประโยชน์ที่ได้รับ



1. ได้รู้จักเทคนิคการเล่านิทาน

2. ได้รู้จักวิธีการเลือกเล่าหนังสือนิทานที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก

3. ได้ความสนุกจากการจัดกิจกรรมนี้














  














ครั้งที่ 15


วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2555


 วันนี้อาจารย์ให้เข้าร่วมชมนิทรรศการอาเซียนที่คณะศึกษาศาสตร์  

โครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ

คุณภาพการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน

โดย ผอ. ราตรี  ศรีไพรวรรณ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ

อาเซียน


  





สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดง

ล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน

รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ

สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 

สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ

สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 

สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง

-  คำขวัญของอาเซียนคือ One Vision One ldentity One 
Community 

(หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาคม )

-  สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง10 ต้นมัดรวมกัน

   สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ประกอบ

ด้วย 10 ประเทศ คือ

              1. กัมพูชา
           2. ไทย
           3. บรูไนดารุสซาลาม
           4. พม่า

           5. ฟิลิปปินส์
           6. มาเลเซีย

           7. ลาว
           8. สิงคโปร์

           9. เวียดนาม

           10. อินโดนีเซีย





ครั้งที่ 14


วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555




อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มคิดคำขวัญเลิกเหล้าออกพรรษา จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาคิดคำเพิ่มแรงจูงใจในข้อความเดิมอีก เพื่อฝึกให้นักศึกษาหัดใช้คำและภาษาที่หลากหลาก

ซึ่งกลุ่มของดิฉันแต่งไว้ว่า  เลิกเหล้า เลิกจน เริ่มมีสติ เพื่ออนาคตของตัวท่านเอง
จากนั้นก็เพิ่มเป็นว่า  ถ้ารักน้องจริง เลิกเหล้า เลิกจน เริ่มมีสติ เพื่ออนาคตของเรา

ด้านล่างนี้คือคำขวัญที่แต่ละกลุ่มได้แต่งไว้

กลุ่ม จ : รู้ทั้งรู้..สุราทำลายจิต คิดสักนิดก่อนดื่มมัน

กลุ่ม ว : รักครอบครัว รักชีวิต คิดสักนิดก่อนดื่มเหล้า..นะจ๊ะ
กลุ่ม ส : เลิกเหล้า เลิกจน..เทิดไท้องค์ราชันย์
กลุ่ม พ : เหล้าทำลายสุขภาพจิต ทำลายชีวิตคนไทย
กลุ่ม ธ,ท : เลิกเถอะ!!..สุรามีพิษร้าย อันตรายถึงชีวิต
กุล่ม น : สุราคือชีวิต เลิกเถิดก่อนชีวิตจะวอดวายเพื่อสายใยในครอบครัว
กลุ่ม ป : เลิกดื่ม เลิกเหล้า เลิกจน รวยจริงๆนะพี่
กลุ่ม ย : พี่จ๋า..รักชีวิต รักครอบครัว อย่ามัวเมาสุรา..น้องขอร้อง
กลุ่ม ต : บุรุษสตรีชะนีข้ามเพศ..โปรดเลิกเหล้าเพื่อให้ทาน เลิกพาลด้วยการเลิกดื่มเหล้า
กลุ่ม ร : เพื่อนเอย..เหล้าเบียคือยาพิษ อย่าหลงผิดริอาจลอง
กลุ่ม ด :  ถ้ารักน้องจริง เลิกเหล้า เลิกจน เริ่มมีสติ เพื่ออนาคตของเรา
กลุ่ม ม : คิดสักนิด..ดื่มเหล้า เสียตังค์ เสียสติ
กลุ่ม ช : พ่อจ๋า..สุราทำลายชีวิต อย่าหลงผิดคิดดื่มสุรา หนูจะพาพ่อดื่มนม
กลุ่ม ถ : อยากให้พี่เพิ่มอายุ เพิ่มชีวิต ด้วยการไม่ดื่มสุรา
กลุ่ม พ : โปรดหยุด!..เหล้าทำลายสุขภาพจิต ทำลายชีวิตคนไทย
กลุ่ม บ : ประกาศ..ช่วงนี้ชี้แนะ..งดเหล้าออกพรรษา ปีศาจสุราไม่ครองเมือง
กลุ่ม ล : มาพวกเรามา คว่ำแก้วเลิกเหล้า ครอบครัวมีความสุข จริงๆนะ

จากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอเพลงที่แต่งใหม่โดยใช้ทำนองเพลงเดิมที่ยืมเขามากลุ่มของฉันแต่งไว้ดังนี้

        เพลง ตา หู จมูก

                        ตาฉันนั้นอยู่ที่ไหน
                          รู้ไหมช่วยบอกฉันที
                    ตาฉันนั้นอยู่ที่นี้  
                   ดูให้ดัอยู่ที่นี้ไง
                        หูฉันนั้นอยู่ที่ไหน         
                           รู้ไหมช่วยบอกฉันที
                    หูฉันนั้นอยู่ที่นี้       
                     ดูให้ดัอยู่ที่นี้ไง
                             ปากฉันนั้นอยู่ที่ไหน          
                            รู้ไหมช่วยบอกฉันที
                         ปากฉันนั้นอยู่ที่นี้          
                      ดูให้ดัอยู่ที่นี้ไง

ที่แต่งเพลงนี้ขึ้นเพื่อให้เด็กได้รู้จักอวัยวะในร่างกายของตนเอง

ครั้งที่ 13


วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2555

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษามาทำดอกไม้ต่างๆ สำหรับเทศกาล หรืองาน


จัดบอร์ด เพื่อฝึกประสบการณ์และรู้จักนำสิ่งของที่เหลือใช้นำกลับมา

ใช้ประโยชน์อีกครั้ง











ครั้งที่ 12


วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2555


    อาจารย์ได้เล่านิทานเรื่อง ช้างน้อยอัลเฟรดให้ฟัง 







เรื่องย่อของ  ช้างน้อยอัลเฟรด 


   อัลเฟรตเป็นช้างน้อยที่มีงวงยาวมาก อัลเฟรตรู้สึกอายที่

ตนมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ จึงพยายามซ้อนงวงของตน วัน

หนึ่งอัลเฟรตได้ยินเสียงร้องขอความช่วบเหลือของเด็กผู้

หญิงคนหนึ่งที่ติด อยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรตได้ใช้งวงช่วย

เด็ก ผู้หญิงลงมา สัตว์ตัวอื่นพากันชื่นชมอัลเฟรตตั้งแต่นั้น

มา อัลเฟรตก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนไม่เหมือนใคร

แนวคิดสำคัญ

 แม้ว่าเด็กๆ จะแตกต่างจากคนอื่น เด็กๆ ก็สามารถอยู่อย่างมี


ความสุขได้

 การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดีที่เด็กๆ ควรปฏิบัติอยู่เสมอ


 เด็กๆ ควรขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ 

ประโยชน์ที่ได้จากนิทานสามารถนำต่อยอดในการจัด

กิจกรรมต่างๆ เช่น แสดงละคร ศิลปะ หรือให้เด็กออกมาเล่า

เพื่อจะได้ฝึกประสบการณ์ทางภาษาซึ่งเด็กจะสามารถพูด 

ได้เพราะเป็นเรื่องที่เด็กฟังมาแล้ว

 จากนั้นอาจารย์ให้ฟังเพลงเกาะสมุยเพื่อฝึกการรับรู้จากการ

ฟังให้นักศึกษาซึ่งเนื้อเพลงนี้ได้บอกถึงความสวยงามและ

สถานที่ตั้งของเกาะสมุย

จากนั้นอาจารย์ก็ได้สั่งให้ แต่ละกลุ่มแต่งเพลง และแต่ง

นิทาน ของแต่ละกลุ่มที่จับฉลากได้ 

มีเล่าไปตัดไป

เล่าไปพับไป

เล่าไปวาดไป

เล่าไปฉีกไป

เล่ากับเชือก

และกลุ่มของดิฉันได้จับฉลากได้  เล่าไปตัดไป



ครั้งที่11



วันที่ 19 สิงหาคม 2555



อาจารย์สอนชดเชย วันที่ 20 กรกฏาคม 2555

อาจารย์สอนในเรื่่อง-สื่อโทรทัศน์ : ให้เด็กดูแล้วนำมาเล่าให้เพื่อนๆฟัง


อาจารย์ให้นักศึกษาคิดข้อความประชาสัมพันธ์คนละ 1 เรื่อง และพูดให้เพื่อนฟัง ว่าการประชาสัมพันธ์ ต้องประกอบไปด้วย อะไรบ้างเช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร อย่างชัดเจน ตัวอย่างประชาสัมพันธ์

วันที่ 28 สิงหาคม-5กันยายน ปี 2555 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จะมีงาน otop 4ภาค ขอเชิยทุกคนมาร่วมงาน เดินเที่ยว มีของกินและสินค้ามากมาย เวลาตั้งแต่ 10.00-22.00 น.

-การเล่าข่าว :ลักษณะอ้างอิง,เรื่องจริง,ทบทวนเหตุการณ์,เรียงลำดับ,แปลงเหตุการณ์เป็นคำ พูด มีวันเวลา อาจพบเห็นด้วยตนเอง หรือจากผู้อื่น
วัตถุประสงค์
-มีประสบการณ์ในการพูด
-เนื้อหาจริงต้องมีการอ้างอิง

-การเล่าประสบการณ์ของตนเอง ทบทวนเหตุการณ์ เรียงลำดับ แปลงเหตุการณ์ เป็นคำพูด


-การโฆษณา :มีวัตถูประสงค์อย่างไร คิดวิเคราะห์,เชื่อมโยงหาคุณสมบัติ การโฆษณา ทำให้เด็กมีความรู้รอบตัวได้ สื่อใน โทรทัศน์ อันไหนที่เด็กชอบ
การโฆษณากับของรักของหวงจะต่างกัน เพราะการโฆษณาต้องคิดวิเคาระห์ และสามารถทำให้เด็กมีความรู้รอบตัวได้
การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ก็ต่างกัน

ข่าว เป็นข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง  เมื่อนำมาเสนอในรูปแบบของการรายงานข่าว เช่น การลงหนังสือพิมพ์ หรือ การอ่านข่าว จะต้องคงใจความสำคัญไว้ครบถ้วนว่า ใคร ทำอะไร ทำเมื่อไร ทำที่ไหน  ทำทำไม และทำอย่างไร  จะเห็นได้ว่า ไม่มีส่วนที่เป็นมุมมองของหรือทัศนคติของผู้เขียนต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือผลที่จะตามมาจากเหตุการณ์นั้น

การเล่าข่าว เป็นการเล่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยอาจมีมุมมองของผู้เล่าปนเข้าไปกับเนื้อข่าว เช่น รายการเรื่องเล่าต่างๆ ที่มีการแสดงข้อคิดเห็นกัน มากมาย อาจมีทั้งข้อความในเชิงบันเทิง เล่าข่าวให้เป็นเรื่องตลก หรือข้อความเสียดสีการกระทำที่ตนไม่เห็นด้วย ซึ่งผู้อ่านต้องใช้วิจารณญาณในการรับฟัง

















ครั้งที่ 10


วันศุกร์ ที่ 17 สิงหาคม 2555



  อาจารย์ให้ออกไปนำเสนองานจากการเล่านิทานโดยใช้สื่อต่างๆ

ดังนี้ นิทาน CD

 กลุ่มของดิฉันได้ใช้หนังสือนิทานไปเล่าให้เด็กอายุ 3ขวบฟังในตอน

แรกเมื่อเข้าไปพูดคุยกับน้อง น้องเขาเขินอายไม่กล้าพูดแต่ ต่อน้อง

เขาเริ่มกล้าพูดคุยมากขึ้น สามารถโต้ตอบได้เป็นคำๆ หรือเป็นประ

โยคสั้นๆ บางคำพูดไม่ชัดเจนและต้องพยายามทำความเข้าใจในสิ่ง

ที่น้องต้องการสื่อสาร ในขณะทำกิจกรรมน้องตั้งใจฟังและดูนิทาน

ตั้งใจบ้างไม่ตั้งใจบ้าง และมีการโต้ตอบกันระหว่างผู้สัมภาษณ์



    และวันนี้ อาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรมในห้องก็คือว่า อาจารย์ให้

นักศึกษาบอกของรักของหวงของตัวเองมา 1 ชิ้น และก็บอกด้วยว่า

ทำไมถึงรักและหวงของชิ้นนี้

  วัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมนี้

 -เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ด้านการพูด

-ทำให้เกิดความเชื่อมั่นเพราะเรื่องง่ายๆเขาก็ทำได้สำเร็จ ทำให้เขา


กล้าที่จะพุดในครั้งต่อไป

-เป็นการสะท้อนความรู้สึกโดยใช้ภาษาในการแสดงออก

และอาจารย์ก็ให้โฆษณาสินค้าที่มีอยู่ในตัวเรา มา1 ชิ้นพร้อมบอกทั้ง

สรรพคุณของสินค้านั้น

วัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมโฆษณา

-มีประสบการณ์ในการพูด

-มีความโน้มน้าวในการพูด

-เด็กได้คิดวิเคราะห์และสื่อมาเป็นคำพูด



ครั้งที่ 9


วันศุกร์  ที่ 10 สิงหาคม 2555


 อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมงานวันแม่ของมหาวิทยาลัย


ราชภัฏจันทรเกษม   หลังจากงานจบ อาจารย์ก็ได้สั่งงาน

กลุ่มให้ทำสื่อตัวพยัชนะภาษาไทย  โดยใช้ปฎิทินตั้งโต๊ะมา

ทำ โดยมีพยัญชนะดังนี้

จ     กลุ่ม แนน  
     
ว     กลุ่ม ปักเป้า 
    
ส    กลุ่ม  ส้ม  
พ    กลุ่ม นิด  
ต    กลุ่ม  บี  
  
อ    กลุ่ม  เอีย

ร    กลุ่ม  เกด 
       
บ    กลุ่ม  ละออ  
  
ธ-ท กลุ่ม อ๊อฟ 
ป    กลุ่ม เฟิร์น 
  
ย    กลุ่ม  อัน 
  
ล    กลุ่ม  บีแบม

ม    กลุ่ม  เพลง
    
ด    กลุ่ม  พราว

น    กลุ่ม แอน

ส่งวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2555   

ประโยชน์ที่ได้

1. รู้จักนำของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง

2.ได้รู้จักคำในพยัญชนะเพิ่มขึ้น